หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) ย้ำโรคกระดูดพรุนคือภัยเงียบ ชี้มีคนกระดูกหักทุก 3 วินาทีทั่วโลก
07:49 - 20 ตุลาคม 2562

         มารีนกระดูกสันหลังหัก ขณะก้มตัวเพื่อช่วยมารดาที่พิการ ด้านหลอ หลานสะโพกหัก หลังจากลื่นสะดุดพรมในบ้านของเธอเอง

 

          ผู้หญิงทั้งสองคนมีบางอย่างเหมือนกัน นั่นคือพวกเธอไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้กระดูกอ่อนแอและเปราะบาง แตกง่ายเหมือนแก้ว ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนอาจกระดูกหักแม้เพียงล้มลงจากความสูงระดับยืน หรือแค่จาม หรือก้มตัวเพื่อผูกเชือกรองเท้า

 

          โดยหนึ่งในสามของผู้หญิงและหนึ่งในห้าของผู้ชายอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปทั่วโลก เกิดภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน คิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 200 ล้านคน และส่งผลให้มีคนกระดูกหักทุก ๆ 3 วินาที

 

          เนื่องในวันสากลโลกระดูกพรุ่น (World Osteoporosis Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 20 ตุลาคมของทุกปี ทางมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (IOF) ร่วมกับองค์กรสมาชิก 250 องค์กรทั่วโลก จึงเรียกร้องให้ผู้สูงอายุทุกคนตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน และปรึกษาแพทย์ หากพบว่าตนมีความเสี่ยง

 

          ทั้งนี้ มีปัจจัยหลายประการที่สามารถชี้ได้ว่า บุคคลนั้นอาจมีภาวะกระดูกพรุนซ่อนอยู่ แต่ลักษณะอาการที่พบได้บ่อยที่สุด คือ คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปกระดูกหักแม้ล้มไม่แรง (low-trauma fall) ความสูงลดลงมากกว่า 4 ซม. (ประมาณ 1.5 นิ้ว) ใช้ฮอร์โมนในกลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) และยาอื่น ๆ ที่ทำลายกระดูกมาเป็นระยะเวลานาน ตัวผอมและน้ำหนักน้อย และครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกสะโพกหัก ซึ่งวิธีหนึ่งที่ง่ายและรวดเร็วในการที่จะรู้ว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ ได้แก่ การทำแบบทดสอบ IOF Osteoporosis Risk Check ทางออนไลน์ [http://riskcheck.iofbonehealth.org/ ]

 

          ภาวะกระดูกหักในผู้สูงอายุอาจส่งผลให้ชีวิตของผู้สูงอายุคนนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นการปวดรุนแรง ใช้เวลาฟื้นตัวนาน ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องพึ่งพาผู้ดูแล และการสูญเสียคุณภาพชีวิต ล้วนแล้วแต่เป็นผลกระทบที่พบบ่อย กระดูกสะโพกหักอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และหากรอดชีวิต อวัยวะหรือร่างกายก็อาจสูญเสียการทำงาน (loss of function) และสูญเสียการพึ่งพาตนเอง (loss of independence) โดยผู้ป่วย 40% ไม่สามารถเดินได้อย่างอิสระ และ 60% ต้องพึ่งพาการช่วยเหลือเมื่อผ่านไปหนึ่งปี และด้วยการสูญเสียเหล่านี้ ส่งผลให้ 33% ของผู้ประสบภาวะกระดูกสะโพกหัก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย หรือต้องไปอยู่ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหลังจากที่ประสบภาวะกระดูกสะโพกหักมาหนึ่งปี

 

          ศาสตราจารย์ไซรัส คูเปอร์ ประธาน IOF กล่าวว่า:

 

          "ผู้ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ทุกคนต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพกระดูกเป็นอันดับแรก การดูแลกระดูกและกล้ามเนื้อให้แข็งแรงคือกุญแจสำคัญของการมีร่างกายที่เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัวเมื่ออายุมากขึ้น หากคุณมีความเสี่ยง อย่าลังเลที่จะขอรับการตรวจจากแพทย์ และถามถึงแผนการรักษาที่เหมาะสมหากจำเป็น ปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคกระดูกพรุนที่มีประสิทธิภาพมากมายมายหลายวิธี ซึ่งวิธีเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสามารถลดความเสี่ยงของภาวะกระดูกสะโพกหักได้ถึง 40% และกระดูกสันหลังหักได้ 30-70%"

 

          นอกจากนี้ IOF ยังเรียกร้องให้หน่วยงานสาธารณสุขให้ความสำคัญกับสุขภาพกระดูก และลดภาระของภาวะกระดูกหักจากความเปราะบาง (fragility fractures) ที่มีต่อเศรษฐกิจและประชาชนในประเทศของตนเอง

 

          ศาสตราจารย์คูเปอร์กล่าวเพิ่มเติมว่า "ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ เราได้ร่วมมือกับกลุ่มผู้ป่วยและผู้พิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยในการรณรงค์ทั่วโลก ช่องว่างการรักษายังคงขยายวงกว้าง แม้แต่ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดก็ไม่ได้รับการปกป้องจากภาวะกระดูกหัก ผู้ที่เคยกระดูกหักจากความเปราะบางอยู่แล้ว มีความเสี่ยงสูงที่จะกระดูกหักได้อีก โดยมีความเสียงมากกว่าถึงห้าเท่าที่จะเกิดกระดูกหักอีกภายในปีแรก อย่างไรก็ตาม ประมาณ 80% ของผู้ป่วยเหล่านี้กลับไม่ทราบหรือไม่ได้รับการรักษาถึงต้นเหตุที่ซ่อนอยู่ ซึ่งก็คือ โรคกระดูกพรุน"

 

          กลยุทธ์ที่สำคัญต่อการลดปัญหาช่องว่างการรักษาและวิกฤติภาวะกระดูกหักจากความเปราะบางทั่วโลก ก็คือการให้บริการ Fracture Liaison Services ในโรงพยาบาลทุกแห่งซึ่งดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกหัก บริการดังกล่าวมีการประสานงานระหว่างสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการดูแลผู้ป่วย และช่วยลดการเกิดกระดูกหักซ้ำ (secondary fractures) อันจะนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนลงได้อย่างมหาศาลทั่วโลก

 

          เกี่ยวกับวันสากลโรคกระดูกพรุน:

 

          วันสากลโรคกระดูกพรุน หรือ World Osteoporosis Day (WOD) ตรงกับวันที่ 20 ตุลาคมของทุกปี โดยจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อต่อสู้กับโรคกระดูกพรุน รวมทั้งภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนทั่วโลก www.worldosteoporosisday.org

 

          ผู้สนับสนุนวันสากลโรคกระดูกพรุนอย่างเป็นทางการ ได้แก่ Sunsweet, Takeda, Medtronic

 

          เกี่ยวกับมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ:

 

          มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ หรือ International Osteoporosis Foundation (IOF) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนขนาดใหญ่ที่สุดของโลกที่อุทิศตนเพื่อการป้องกันโรคกระดูกพรุนและการดูแลสุขภาพกระดูก @iofbonehealth www.iofbonehealth.org

 

          สื่อมวลชนติดต่อ: L.Misteli, info@iofbonehealth.org, +41-22-994-0100

 

 

          อินโฟกราฟิก - https://mma.prnewswire.com/media/1005044/IOF_risks_Infographic.jpg 

 

          รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1005045/IOF_osteoporotic_bone_changes.jpg

คอมเม้นต์
กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อนคอมเม้นต์
ผู้เขียน