หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
Shanghai Electric ฉลองครบรอบ 27 ปี การดำเนินธุรกิจในปากีสถาน
20:43 - 26 พฤษภาคม 2563

 

เผย 6 หลักชัยสำคัญในการสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน สะท้อนความสัมพันธ์ทางธุรกิจอันแข็งแกร่งของสองประเทศ

 

Shanghai Electric ฉลองครบรอบ 27 ปี การดำเนินธุรกิจในปากีสถานนับตั้งแต่ปี 2536 พร้อมกับฉลองครอบรอบ 69 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนกับปากีสถานเมื่อวานนี้ โดย Shanghai Electric เป็นบริษัทจีนแห่งแรก ๆ ที่รุกเข้าสู่ตลาดปากีสถาน และริเริ่มโครงการสำคัญมากมายทั้งในด้านพลังงานความร้อน พลังงานนิวเคลียร์ รวมถึงระบบส่งและจ่ายกำลังไฟฟ้า ภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor: CPEC)

 

พลังงานความร้อน

 

- โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนเมืองมุซาฟฟาร์นากา -- โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นโครงการ EPC ในต่างประเทศโครงการแรกของ Shanghai Electric นับตั้งแต่บริษัทเข้าสู่ตลาดปากีสถานในปี 2536 โดยโครงการนี้ใช้กังหันไอน้ำ 320MW จาก Shanghai Electric และเริ่มดำเนินงานเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540

 

- โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเมืองธาร์ -- Shanghai Electric เซ็นสัญญา EPC ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใน Thar Coalfield เมื่อเดือนธันวาคม 2559 ต่อมาในเดือนเมษายน 2562 บริษัทได้เซ็นสัญญา EPC ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน Thar Block-1 ที่มีกำลังการผลิตติดตั้ง 2 x 660MW และมีเหมืองถ่านหินที่มีกำลังการผลิตถ่านหิน 7.8 ล้านตันต่อปี โครงการนี้สามารถผลิตไฟฟ้าป้อน 4 ล้านครัวเรือนในปากีสถาน ด้วยกำลังการผลิตรวม 1,320MW ซึ่งมีความมั่นคงและมีราคาย่อมเยา นอกจากนี้ บริษัทยังใช้เทคโนโลยี ultra-supercritical ที่ช่วยให้โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่รัฐบาลปากีสถานกำหนด ขณะเดียวกัน โรงไฟฟ้าแห่งนี้ยังมีอัตราการกำจัดก๊าซกรดสูง และอัตราการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต่ำ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อเริ่มผลิตไฟฟ้าในปี 2565

 

- โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนเมืองซาฮิวาล 2 x 660MW -- Shanghai Electric รับหน้าที่จัดหากังหันไอน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ให้แก่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ ซึ่งมีการเซ็นสัญญาไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 โดยบริษัทสามารถลดเวลาผลิตเหลือเพียง 12 เดือน ด้วยการใช้กังหันไอน้ำแบบใหม่ที่มาพร้อม supercritical cylinder รวมถึงมีการปรับปรุง generator stator iron center, coil และ shaft tile ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของโรงไฟฟ้าแห่งนี้

 

พลังงานนิวเคลียร์

 

- โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมืองชาชมา -- โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบใช้น้ำความดันสูง 300,000 kW แห่งนี้ เป็นโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในต่างประเทศแห่งแรกที่จีนออกแบบและก่อสร้างเอง โดย Shanghai Electric รับหน้าที่จัดหาส่วนประกอบหลักของ nuclear island และ conventional island โดยมีจุดมุ่งหมายในการบรรเทาปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าในท้องถิ่น รวมทั้งจัดหาไฟฟ้าที่สะอาด มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย เพื่อช่วยให้ปากีสถานสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน

 

- โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมืองการาจี Unit 2 และ Unit 3 (K2 และ K3) -- โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างจีนกับปากีสถาน และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2563 โดยมีการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ “Hualong No.1” ในต่างประเทศเป็นครั้งแรกในโครงการนี้ และ Shanghai Electric รับหน้าที่จัดหาส่วนประกอบหลักของ nuclear island และ conventional island โดยคาดว่าโครงการนี้จะช่วยบรรเทาสถานการณ์ขาดแคลนไฟฟ้าในท้องถิ่น

 

ระบบส่งและจ่ายกำลังไฟฟ้า

 

- โครงการปรับปรุงสายส่งกำลังไฟฟ้าเมืองการาจี TP1000 -- โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างสายส่งกำลังไฟฟ้าในเมืองครบวงจร ที่ออกแบบมาเพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือและเสถียรภาพของโครงสร้างพื้นฐานการส่งกำลังไฟฟ้าในเมืองการาจี โดย Shanghai Electric รับหน้าที่สำคัญทั้งหมด ตั้งแต่การสำรวจ การออกแบบระบบส่งและจ่ายกำลังไฟฟ้า การทดสอบการทำงานของโรงไฟฟ้า ไปจนถึงการจัดหาสายเคเบิลและอุปกรณ์เสริมสำหรับสถานีไฟฟ้าย่อย นอกจากนี้ บริษัทยังผลักดันการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยพนักงานในท้องถิ่นได้รับการฝึกอบรมทางเทคนิคและได้รับประสบการณ์ด้านการบริหารโครงการจากพนักงานในจีน ซึ่งสร้างผลลัพธ์อย่างยั่งยืนต่ออุตสาหกรรมพลังงานของปากีสถาน

 

รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200525/2811658-1

คำบรรยายภาพ - Shanghai Electric ฉลองครบรอบ 27 ปี การดำเนินธุรกิจในปากีสถาน

 

โลโก้ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200325/2760574-1-LOGO

คอมเม้นต์
กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อนคอมเม้นต์
ผู้เขียน