หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
มิตร - กัลยาณมิตร
15:37 - 20 พฤษภาคม 2563 (แก้ไขล่าสุด 15:39 - 20 พฤษภาคม 2563)

 

ชวนคิด - ชวนคุย วันนี้อยากพูดถึงการ POST บทความโดยใช้ความคิดริเริ่มของตนเองนอกจากไปนำจากเว็บ ฯ อื่นมาลง การไปนำบทความต่าง ๆ จากเว็บ ฯ อื่นมาลงดูเหมือนง่ายแต่เราจะไม่ได้ประโยชน์มากนักโดยส่วนตัวแล้วพยายามจะใช้ความคิดหรือหาข้อมูลจากแหล่งอื่นมากกว่าโดยการอ่านหนังสือให้มาก ๆ ผู้เขียนอยากใช้ความคิดของตนเองมากกว่า ผู้เขียนเคยคัดลอกโดยพิมพ์เอาจากหนังสือและถ่ายภาพประกอบบทความด้วยตัวเอง เป็นการเพิ่มข้อมูลใหม่ ๆ บนอินเตอร์เนทด้วยบทความด้านล่างนี้เป็นตัวอย่าง ที่ผู้เขียนคัดลอกจากหนังสือโดยไม่ได้เอาจากเว็บ ฯ อื่นมาลงแม้กระทั่งภาพถ่ายก็ถ่ายมาด้วยตนเอง ผิด - ถูกอย่างไรก็ขออภัยด้วย

การยกย่อง - สรรเสริญเป็นกฏของสังคมซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นธรรมชาติของสังคม ในพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมไว้เรื่องหนึ่ง คือ โลกธรรม พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนโลกธรรม 8 ประการ

โลกธรรมที่มีค่า

คำสรรเสริญที่มีเหตุผลและตรงต่อความเป็นจริงเป็นโลกธรรมที่มีค่า โลกธรรมเช่นนี้ย่อมก่อเกิดประโยชน์แก่มวลมนุษย์ชาติแม้เพียงให้เห็นเป็นแบบอย่างของผู้มีเหตุผล โลกธรรมที่มีค่าจะงดงามและทรงประโยชน์ยิ่งนักเมื่อเเป็นอลังการของผู้มี ตาทิตา = ความคงที่ตามที่พระพุทธองค์ตรัส

กัลยาณมิตร

พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องมิตร ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกมากมายหลยแห่ง เช่น นฑีฆนิกาย ปฎิกวรรค เป็นต้นเป็นเหตุให้ผู้นับถือพระพุทธศาสนา รู้จักปฏิบัติตนในฐานะเป็นมิตรของมิตร รู้จักอ่านผู้เป็นมิตและเลือกคบมิตร ประการสำคัญคือการปฏิบัติตนให้เป็นกัลยณมิตรที่เป็นกัลยาณมิตร เมื่อรักษาความเป็นกัลยาณมิตรในจิตของตนให้มั่นคงคุณค่าแห่งกัลยณมิตรในจิต ก็จะทำให้เกิดความงดงามในจิตของตนโดยประการต่าง ๆ ความ

งดงามในจิตของตนไม่มีใครสามารถเลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นการดำรงตนให้เหมาะสมทั้งในส่วนตนและส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับชีวิตทุกคน ทุกเพศ - ทุกวัย ถ้ารู้จักดำรงตนทั้ง 2 อย่างดังกล่าวข้างต้นอย่างมีเหตุผล อย่างรอบครอบโดยไม่ใช้อารณ์ ก็จะนำตนให้ปลอดภัยและปลอดโปร่ง ทั้งจะนำส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ไม่ให้ผิดพลาดหรือถ้าผิดก็ผิดน้อยลงโดย.....สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ)วัสระเกศวรวิหาร

 

คอมเม้นต์
กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อนคอมเม้นต์
ผู้เขียน
บล็อกโปรด