หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
คติกถาและอรรถกถาคติกถา
20:05 - 26 สิงหาคม 2562 (แก้ไขล่าสุด 23:45 - 26 สิงหาคม 2562)

 

 

 

บัดนี้การพรรณนาความตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนา แห่งคติกถาอันพระสารีบุตรเถระแสดง ถึงเหตุสมบัติอันเป็นเหตุแห่งการเกิดวิโมข์นั้นกล่าวไว้แล้วแม้ฌานก็จะไม่ เกิดขึ้นแม้แก่ผู้เป็นทุเหตุกปฏิสนธิเพราะพระบาลีว่า ๑ นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญาก็วิโมกข์จะเกิดได้อย่างไร

ขุ. ธ. เล่ม ๒๕ - ข้อ ๓๕

ในบทเหล่านั้นบทว่า คติสมฺปตฺติยา คติสมบัติ คือ คติสมบัติอันได้แก่มนุษย์และเทพในบรรดาคติ ๕ คือ นรก - กำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์และเทพ. ด้วยบทนี้แลท่านปฏิเสธคติวิบัติ ๓ ข้างต้น. สมบัติแห่งคติ ชื่อว่าคติสมบัติ. ท่านอธิบายว่า สุคติ.
อนึ่งขันธ์ทั้งหลายพร้อมกับโอกาส ชื่อว่าคติ. และในคติ ๕ ท่านถือเอาแม้อสุรกาย ด้วยศัพท์ว่า เปตติวิสัย
บทว่า เทวา ได้แก กามาวจรเทพ ๖ และพรหมทั้งหลาย.
แม้อสูรท่านก็สงเคราะห์ศัพท์ว่า เทว.
บทว่า ญาณสมฺปยุตฺเต ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ คือในขณะปฎิสนธิสัมปยุตด้วยญาณ
จริง อยู่ แม้ขณะก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วยโวหารนั้นนั่นเเอง เพราะประกอบด้วยญาณสัมปยุต
บทว่า กตีนํ เหตูนํ แห่งเหตุเท่าไร คือ แห่งเหตุเท่าไรในบรรดาอโลภเหคุ อโทสเหตุและอโมหเหตุ
บทว่า อุปฺปตฺติ คือการเกิด
อนึ่งเพราะแม้เกิดในตระกูลศูทรก็เป็นติเหตุกะได้ ฉะนั้นคำถามแรกจึงหมายถึงติเหตุกะเหล่านั้นและเพราะคนมีบุญมากโดยมากเกิดใน ตระกูลมหาศาล ๓ ตระกูล ฉะนั้นคำถามจึงมี ๓ อย่าง ด้วยสามารถแห่งตระกูล ๓ เหล่านั้น แต่ท่านย่อปาฐะไว้
ชื่อว่า มหาสาลา เพราะมีสมบัติมาก. อธิบายว่า มีเรือนใหญ่ มีสมบัติมาก
อีกอย่างหนึ่ง ควรกล่าวว่า มหาสารา เพราะมีทรัพย์มาก ท่านกล่าวว่า มหาสาลา เพราะแปลง ร อักษรเป็น ล อักษร.
ชื่อว่า ขตฺติยมหาสาลา เพราะเป็นกษัตริย์มหาศาล หรือมหาศาลในกษัตริย์
แม้ใน บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ในบทนั้นกษัตริย์ใดเก็บทรัพย์อย่างต่ำ ๑๐๐ โกฏิไว้ที่พระราชมณเฑียรใช้จ่ายกหาปณะวันละ ๒๐ อัมพณะกษัตริย์นี้ชื่อว่ากษัตริย์มหาศาล

พราหมณ์ใดเก็บทรัพย์อย่างต่ำ ๘๐ โกฏิไว้ที่เรือน ใช้จ่ายกหาปณะวันละ ๑๐ อัมพณะ พราหมณ์นี้ชื่อว่าพราหมณมหาศาลคหบดีใดเก็บทรัพย์อย่างต่ำ ๔๐ โกฏิไว้ที่เรือน ใช้จ่ายกหาปณะวันละ ๕ อัมพณะ คหบดีนี้ชื่อว่าคหบดีมหาศาล.
เพราะ เทพชั้นรูปาวจร และเทพชั้นอรูปาวจรเป็นติเหตุกะโดยส่วนเดียว ท่านจึงไม่กล่าวว่า ญาณสมฺปยุตฺเต ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ.
แต่ในมนุษย์ ทั้งหลาย เพราะมีทุเหตุกะและอเหตุกะ และในเทพชั้นกามาวจรที่เหลือเพราะมีทุเหตุกะ ท่านจึงกล่าว ญาณสมฺปยุตฺเต.
อนึ่ง กามาวจรเทพทั้งหลายในที่นี้ ชื่อว่าเทวา เพราะเพลิดเพลินด้วยความยินดีในกามคุณ ๕ และรุ่งเรืองด้วยรัศมีแห่งร่างกาย.
รูปาวจรพรหมทั้งหลาย ชื่อว่าเทวา เพราะเพลิดเพลินด้วยความยินดีในฌาน และรุ่งเรืองด้วยรัศมีแห่งร่างกาย.
อรูปาวจรพรหมทั้งหลาย ชื่อว่าเทวา เพราะเพลิดเพลินด้วยความยินดีในฌาน และรุ่งเรืองด้วยรุ่งเรืองแห่งฌาน.
บทว่า กุสลกมฺมสฺส ชวนกฺขเณ ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม คือในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรมอันเป็นติเหตุกกามาวจรอันยังติเหตุกปฏิสนธิให้
เกิด ในอดีตชาติ ๗ วาระ ด้วยอำนาจการเกิดบ่อย ๆ ในชวนวิถีจิต ความว่า ในกาลอันเป็นไป.
บทว่า ตโย เหตู กุสลา เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นกุศลเหตุ.
บทว่า ตสฺมึ ขเณ ชาตเจตนาย แห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น คือแห่งกุศลเจตนาที่เกิดในขณะดังกล่าวแล้วนั้น.
บทว่า สหชาตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสหชาตปัจจัย คือเมื่อเกิดย่อมเป็นอุปการะโดยความเกิดร่วมกัน.
บทว่า เตน วุจฺจติ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว คือกล่าวด้วยความเป็นสหชาตปัจจัยนั้นนั่นแล.
บทว่า กุสลมูลปจฺจยาปิ สงฺขารา แม้เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัยก็เกิดสังขาร ท่านกล่าวโดยนัยแห่งปัจจยาการอันเป็นไปในขณะจิตดวงเดียว.
อนึ่งพึงทราบ ว่า ท่านสงเคราะห์เจตสิกทั้งหมดอันสงเคราะห์ด้วยสังขารขันธ์ในบทนั้นด้วยพหุจตนะ ว่า สงฺขารา สังขารทั้งหลาย.
ท่านกล่าวว่า กุสลมูลานิ บ้าง แม้เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารด้วย อปิศัพท์.
บทว่า นิกฺกนฺติกฺขเณ ในขณะความพอใจแห่งสังขาร อันเกิดขึ้นในกรรมที่ปรากฏเฉพาะหน้าเพื่อให้วิบากของตน ในกรรมนิมิตหรือในคตินิมิตอันปรากฏด้วยกรรมที่ปรากฏแล้วอย่างนั้น.
บทว่า นิกนฺติ ความพอใจ คือ ความใคร่ ความปรารถนา.
จริงอยู่ เพราะใกล้จะตายมีจิตวุ่นวายด้วยโมหะ ความพอใจย่อมเกิดขึ้น แม้ในจ่ายแห่งอเวจีมหานรก ส่วนในนิมิตที่เหลือจะเป็นอย่างไร.บทว่า เทฺว เหตู เหตุ ๒ ประการ คือ โลภะ โมหะเป็นอกุศลเหตุ ส่วนความพอใจในภพปรารภขันธสันดานของตนเพียงออกไปจากภวังควิถีอันเป็นไป แล้วในลำดับแห่งปฏิสนธิ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่สังขารทั้งปวง.
บทมีอาทิอย่าง นี้ว่า ๒ ก็หรือว่า อกุศลธรรมไม่เคยเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ในภูมิใด กุศลธรรมทั้งหลายก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้นหรือ?มีคำตอบว่าใช่ ดังนี้ท่านกล่าวหมายถึงความพอใจนี้นั่นแล

 

คอมเม้นต์
กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อนคอมเม้นต์
ผู้เขียน