หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
ผลวิจัยเผยผู้บริโภคชาวเอเชียซื้อสินค้าออนไลน์พุ่งขึ้นถึง 257%
16:06 - 22 มกราคม 2557

  สิงคโปร์--22 ม.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

          คอนเทนท์มีความสำคัญ: ผลการศึกษาเรื่องผลกระทบของการทำตลาดคอนเทนท์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคฉบับใหม่จากบริษัท Waggener Edstrom

          บริษัท Waggener Edstrom Communications (WE) บริษัทผู้ให้บริการด้านการสื่อสารครบวงจร เปิดเผยผลการศึกษาวิจัยฉบับใหม่ของบริษัทเกี่ยวกับผลกระทบของดิจิตอลคอนเทนท์ และการถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ออนไลน์สำหรับแบรนด์ต่างๆทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ผลการวิจัยดังกล่าวใช้ชื่อว่า คอนเทนท์มีความสำคัญ: ผลกระทบจากการเผยแพร่แบรนด์ออนไลน์ในปี 2557

          รับชมข่าวในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: http://en.prnasia.com/pr/2014/01/22/140023712.shtml

          (ภาพกราฟฟิคข้อมูล: http://photos.prnasia.com/prnh/20140115/8521400237 )
          (โลโก้: http://photos.prnasia.com/prnh/20140115/8521400237LOGO )

          ผลการวิจัยระดับภูมิภาคฉบับใหม่นี้เปิดเผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดเรื่องราวแบรนด์ออนไลน์ และพฤติกรรมที่สำคัญๆของผู้บริโภค อาทิ การสนับสนุนแบรนด์ การใช้จ่าย และความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ 6 ประเภทในตลาดเอเชียทั้ง 10 แห่ง

          การศึกษาดังกล่าวได้สำรวจกลุ่มผู้บริโภคจำนวนกว่า 2,200 คน ที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปี ในออสเตรเลีย จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และเวียดนาม นอกจากนี้ การวิจัยดังกล่าวยังได้เปิดเผยข้อมูลการสำรวจในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วยเช่นกัน

          สตีเฟน เทรซี (Stephen Tracy) หัวหน้าฝ่ายเอเชียแปซิฟิค (APAC) ฝ่ายข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์ของบริษัท Waggener Edstrom กล่าวว่า "ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดต่อสื่อสารจากทั่วเอเชียพบว่า ตนเองอยู่ภายใต้แรงกดดันมากขึ้นเรื่อยๆในแง่ของการวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในกิจการดิจิตอลคอนเทนท์ ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดนี้บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดเรื่องราวแบรนด์ออนไลน์ ตลอดจนการใช้จ่าย การอ้างอิง และการมีส่วนร่วมที่สูงขึ้นของผู้บริโภค พูดง่ายๆก็คือผู้บริโภคเชื่อมั่นในคอนเทนท์ของแบรนด์มากเท่าใด ผู้บริโภคก็จะซื้อสินค้าแบรนด์นั้นๆมากยิ่งขึ้น"

          ซาเฮียร์ นูรุดดิน (Zaheer Nooruddin) รองประธานฝ่ายดิจิตอลที่สตูดิโอ ดี (Studio D) ในเอเชียแปซิฟิก ในเครือของWaggener Edstrom กล่าวว่า "สำหรับเราแล้ว ความสำเร็จที่แท้จริงคือการที่เจ้าของแบรนด์ต้องมุ่งมั่นในการบอกเล่าเรื่องราวที่เข้มข้น น่าสนใจ และมีสาระสำคัญให้แก่กลุ่มเป้าหมายในปี 2557 หากแบรนด์สามารถดึงความสนใจจากผู้บริโภคได้สำเร็จด้วยการทำตลาดคอนเทนท์ที่มีคุณภาพสูงทั่วตลาดเอเชียแล้ว พวกเขาก็จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนกลับคืนมา"

          ผู้ตอบแบบสำรวจต้องตอบคำถาม 1 ชุด ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปฏิกิริยาตอบโต้ของผู้ตอบแบบสำรวจที่มีต่อแบรนด์ต่างๆในภาคธุรกิจที่มีความแตกต่างกันไป อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยวและการเดินทาง อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และเครื่องใช้ต่างๆ (ไม่รวมอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ) ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลตนเอง และการดูแลสุขภาพ

          ผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวค้นพบว่า:

          ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
          - ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แบรนด์อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือมียอดผู้ชม และผู้ติดตามบนระบบดิจิตอลมากที่สุด ผู้บริโภคชาวเอเชีย 72% เปิดเผยว่า ตนเองติดตามแบรนด์อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือผ่านทางระบบดิจิตอล
          - ผู้ใช้ระบบดิจิตอลชาวเอเชีย 78% ระบุว่า ตนเองได้รับข้อมูลด้านบริการ และผลิตภัณฑ์โดยใช้โซเชียลมีเดีย
        
          ออสเตรเลีย
          - ผู้บริโภคชาวออสเตรเลียที่ติดตามแบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลตนเองผ่านทางระบบออนไลน์ มีการใช้จ่ายเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพิ่มขึ้น 111% ต่อสัปดาห์
          - ผู้บริโภคในออสเตรเลียที่ติดตามแบรนด์ธุรกิจท่องเที่ยวและการเดินทางผ่านระบบออนไลน์ มีการใช้จ่ายเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ และบริการด้านการท่องเที่ยว และการเดินทางเพิ่มขึ้น 51% ต่อปี
        
          จีนแผ่นดินใหญ่
          - ผู้บริโภคชาวจีนที่ติดตามแบรนด์อาหาร และเครื่องดื่มออนไลน์ มีการใช้จ่ายเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 160% ทุกสัปดาห์
          - ผู้บริโภคในระบบดิจิตอล 86% ในจีนให้ความสนใจกับบทความโฆษณาออนไลน์อย่างกระตือรือร้น หรือแม้แต่การคลิกชมโฆษณาดิจิตอล 
        
          ฮ่องกง
          - ผู้บริโภคในฮ่องกงที่ติดตามแบรนด์อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือออนไลน์ มีจำนวน 33% ที่มีแนวโน้มจะแนะนำแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของแบรนด์อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือนั้น ให้แก่เพื่อนฝูง สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน
          - 88% ของผู้บริโภคบนระบบดิจิตอลในฮ่องกง มีส่วนร่วมในแคมเปญของแบรนด์ต่างๆ ซึ่งมีทั้งการประกวด และการแจกของรางวัลผ่านทางโซเชียลมีเดีย
        
          อินเดีย
          - ผู้บริโภคชาวอินเดียบนระบบออนไลน์ 91% ใช้เฟซบุ๊กค่อนข้างบ่อย หรือบ่อยมาก
          - ผู้บริโภคในอินเดียที่ติดตามแบรนด์ธุรกิจท่องเที่ยวและการเดินทาง มีการใช้จ่ายเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และการเดินทางเพิ่มขึ้น 187% ต่อปี

          อินโดนีเซีย
          - 95% ของผู้บริโภคออนไลน์ชาวอินโดนีเซีย รับทราบถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย
          - 87% ของผู้บริโภคดิจิตอลชาวอินโดนีเซีย ค้นหาข้อเสนอและโปรโมชั่นส่งเสริมการขายล่าสุดผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย

          ญี่ปุ่น
          - ผู้บริโภคในญี่ปุ่นที่ติดตามข่าวสารแบรนด์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ภายในบ้าน มีพฤติกรรมซื้อผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ภายในบ้านมากขึ้นถึง 12% ต่อการซื้อหนึ่งครั้ง
          - 60% ของผู้บริโภคดิจิตอลในญี่ปุ่นดูคอนเทนท์โฆษณา หรือกดคลิกบนโฆษณาดิจิตอลอย่างสม่ำเสมอ
        
          เกาหลีใต้
          - 32% ของผู้บริโภคดิจิตอลในเกาหลีใต้ใช้ Cyworld บ่อยครั้งหรือบ่อยครั้งมากๆ
          - ผู้บริโภคในเกาหลีใต้ที่ติดตามแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มบนอินเทอร์เน็ต มีพฤติกรรมซื้อสินค้าดังกล่าวมากกว่าทั่วไปสูงสุดถึง 167% ในทุกๆสัปดาห์

          ฟิลิปปินส์
          - ผู้บริโภคในฟิลิปปินส์ที่ติดตามแบรนด์การท่องเที่ยวบนอินเตอร์เน็ต มีพฤติกรรมซื้อผลิตภัณฑ์และบริการเชิงท่องเที่ยวมากกว่าทั่วไปถึง 160% ต่อปี
          - ผู้บริโภคในฟิลิปปินส์ที่ติดตามแบรนด์บริการสุขภาพบนอินเตอร์เน็ต มีพฤติกรรมซื้อผลิตภัณฑ์และบริการทางการแพทย์มากกว่าทั่วไปถึง 257% ต่อการซื้อหนึ่งครั้ง

          สิงคโปร์
          - ผู้บริโภคที่ติดตามแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มบนอินเทอร์เน็ต มีพฤติกรรมซื้อสินค้าดังกล่าวมากกว่าทั่วไปสูงสุดถึง 108% ในทุกๆสัปดาห์
          - ผู้บริโภคในสิงคโปร์ที่ติดตามแบรนด์บริการสุขภาพบนอินเทอร์เน็ต มีพฤติกรรมซื้อผลิตภัณฑ์และบริการทางการแพทย์มากกว่าทั่วไปถึง 172% ต่อการซื้อหนึ่งครั้ง

          เวียดนาม
          - ผู้บริโภคในเวียดนามที่ติดตามแบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลตนเองบนอินเทอร์เน็ต มีพฤติกรรมซื้อสินค้าดังกล่าวมากกว่าทั่วไปสูงสุดถึง 156% ในทุกๆสัปดาห์
          - ผู้บริโภคในเวียดนามที่ติดตามแบรนด์บริการสุขภาพบนอินเทอร์เน็ต มีแนวโน้มแนะนำแบรนด์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการดังกล่าวกับเพื่อน สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงานมากกว่าทั่วไปถึง 57%

          “ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ว่า ในปี 2557 นั้น การถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ผ่านทางสื่อดิจิตอลนั้นเป็นหัวใจของความสำเร็จในการสื่อสาร เนื่องจากเหล่าผู้บริโภคนั้นต่างต้องการที่จะมีส่วนร่วมกับแบรนด์บนอินเทอร์เน็ต” นายแมททิว แลคกี้ รองประธานอาวุโสของ Waggener Edstrom กล่าว “เรามองว่า บรรดาบริษัทแบบ B2B และ B2C นั้นจะได้รับผลประโยชน์ที่ดีในปี 2557 เมื่อผู้บริโภคมีการใช้จ่ายและมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น ตลอดจนจำนวนผู้สนับสนุนแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น หากบริษัทเหล่านั้นมีการถ่ายทอดคอนเทนท์ที่ดี”

          ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์จาก Waggener Edstrom ได้ที่ http://apac.waggeneredstrom.com

          เกี่ยวกับ Waggener Edstrom Communications

          Waggener Edstrom Communications (WE) เป็นเอเจนซี่ด้านการสื่อสารแบบบูรณาการอิสระ ซึ่งได้พัฒนาโครงการการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ ให้กับลูกค้าที่เสาะหานวัตกรรมและต้องการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้มาแล้วเกือบ 30 ปี ผ่านการดำเนินงานเพื่อสร้างบทบาทในตลาด สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน อีกทั้งยกระดับชีวิต โดย WE APAC มีความเชี่ยวชาญในด้านผู้บริโภค เทคโนโลยี บริการสุขภาพ การสื่อสารองค์กร และการสื่อสารแบบดิจิตอล WE ได้รับการยกย่องให้เป็นองค์กรที่ปรึกษาด้านผู้บริโภคดีเด่นประจำปี 2556 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจาก The Holmes Report เมื่อปี 2555 WE ได้รับรางวัลองค์กรเครือข่ายขนาดกลางยอดเยี่ยมแห่งปี ในพิธีมอบรางวัล Campaign Asia-Pacific PR Awards มาแล้วถึง 2 ปีติดต่อกัน ตลอดจนรางวัลองค์กรที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยียอดเยี่ยมแห่งปีประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจาก The Holmes Report เช่นเดียวกับรางวัลแคมเปญดิจิตอลยอดเยี่ยมในปี 2554 ในงาน Asia Pacific SABRE Awards ของ The Holmes Report ทั้งนี้ WE มีพนักงานมากกว่า 750 คนในสำนักงาน 19 แห่งทั่วโลก พันธมิตร Global Alliance ขององค์กรนั้นทำให้ทางบริษัทสามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้อีกกว่า 80 แห่ง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ http://apac.waggeneredstrom.com

          เครื่องหมาย Waggener Edstrom(R), Innovation Communications(R), twendz(TM), WE Studio D(TM) และเครื่องหมายการค้าอื่นๆในข่าวประชาสัมพันธ์ชิ้นนี้ เป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนหรือไม่ได้รับการจดทะเบียนของ Waggener Edstrom Worldwide Inc. ในสหรัฐอเมริกา และ/หรือ ประเทศอื่นๆ สำหรับรายชื่อองค์กรและผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีการระบุในข่าวชิ้นนี้ อาจได้รับการจดทะเบียนการค้าหรือไม่ได้รับการจดทะเบียนการค้าของบริษัทผู้เป็นเจ้าของ ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์หากมีผู้นำเครื่องหมายการค้าไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม:

          จอร์ดิน ฮิลล์
          บริษัท Waggener Edstrom
          โทร. +65-9873-3121
          อีเมล: jhill@waggeneredstrom.com

          แหล่งข่าว: Waggener Edstrom Communications

คอมเม้นต์
กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อนคอมเม้นต์
ผู้เขียน