หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เมืองเปตาลิงของมาเลเซียเข้าร่วมโครงการ City Cancer Challenge
13:10 - 15 ตุลาคม 2562

 - เปตาลิงเป็นเมืองแห่งที่สองในเอเชียที่เข้าร่วมโครงการ C/Can

 

          - การตัดสินใจเกิดขึ้นหนึ่งปีหลังจากมาเลเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม World Cancer Congress

 

          - มาเลเซียมีอัตราการรอดชีวิตจากโรคมะเร็งค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงอื่นๆ 

 

          วันนี้ ในการประชุม World Cancer Leaders' Summit 2019 ที่เมืองนูร์-สุลต่าน (เดิมคืออัสตานา) ประเทศคาซัคสถาน มีการประกาศว่า เมืองเปตาลิงของมาเลเซียได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ City Cancer Challenge (C/Can)

 

          การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหนึ่งปีหลังจากมาเลเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม World Cancer Congress 2018 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ และสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในมาเลเซียในการสานต่อความสำเร็จของการประชุมดังกล่าว เพื่อผลักดันมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการยกระดับการเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพสำหรับผู้ป่วยทุกคน

 

          เมืองเปตาลิงผนึกกำลังกับเมืองต่างๆ ทั่วโลก เพื่อร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ ในการวางแผนและนำเสนอโซลูชันการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง Dr. Saunthari Somasundaram ประธาน National Cancer Society of Malaysia กล่าวว่า "เรารู้สึกภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการ มาเลเซียมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาระบบสุขภาพ และการตัดสินใจครั้งนี้จะทำให้เราพัฒนาแบบก้าวกระโดดในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง"

 

          เมืองเปตาลิงเป็นเมืองแห่งที่สองในเอเชียที่เข้าร่วมโครงการ City Cancer Challenge โดย Dr. Aung Naing Soe ผู้อำนวยการโครงการ C/Can ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า "โครงการ C/Can กำลังขยายการดำเนินงานในเอเชีย ส่งผลให้เมืองต่างๆ มีโอกาสมากขึ้นในการสร้างความร่วมมือและแบ่งปันความรู้ เราจะสานต่อปณิธานทางการเมืองอันแข็งแกร่งและความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมในเมืองเปตาลิง เพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพทั้งในเมืองเปตาลิงและทั่วภูมิภาค"

 

          การประชุม World Cancer Congress 2018 ได้เชิญชวนเมืองต่างๆ ในเอเชียให้เข้าร่วมโครงการ C/Can และเมืองเปตาลิงก็ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนจาก National Cancer Society of Malaysia และ Universiti Malaya ทั้งนี้ เมืองเปตาลิงประกอบด้วยเขตเปตาลิงจายาและเขตสุบังจายาในรัฐสลังงอร์ ซึ่งเป็นรัฐที่เจริญที่สุดรัฐหนึ่งในมาเลเซีย และให้บริการรักษาโรคมะเร็งแก่ประชาชนกว่า 1.4 ล้านคน

 

          Dr. Siti Mariah Binti Mahmud สมาชิกสภาแห่งรัฐสลังงอร์ กล่าวว่า "โครงการ C/Can จะผสานศักยภาพด้านเทคโนโลยีอันเต็มเปี่ยมและความคิดที่ก้าวหน้าของชาวเมืองเปตาลิง เข้ากับความมุ่งมั่นของรัฐบาลท้องถิ่นในการส่งมอบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและเท่าเทียม เรามองเห็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่รออยู่เบื้องหน้า"

 

          ข้อมูลล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า มาเลเซียมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ 43,837 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 26,395 รายในปี 2561 โดยโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดสามอันดับแรกในผู้ชายและผู้หญิง (ไม่รวมมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่เมลาโนมา) ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ และโรคมะเร็งปอด (ที่มา: Globocan)

 

          Datuk Dr Noor Hisham Abdullah อธิบดีกรมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย กล่าวว่า "กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียขานรับความพยายามของโครงการ C/Can ในการผนึกกำลังภาคส่วนสุขภาพและภาคส่วนอื่นๆ เพื่อพัฒนาโซลูชันรักษาโรคมะเร็งที่ทันสมัยและเฉพาะเจาะจงสำหรับคนในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายในการรับมือกับภาระของโรคมะเร็งที่เพิ่มมากขึ้น"

 

          มาเลเซียเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง และมีระบบสุขภาพที่มั่นคง แต่ยังคงมีช่องว่างในแง่ของการเข้าถึงการวินิจฉัยและการรักษาโรคอย่างทันท่วงที ขณะที่อัตราการรอดชีวิตจากโรคมะเร็งก็ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงอื่นๆ Dr. Nur Aishah Taib ผู้อำนวยการ UM Cancer Research Institute กล่าวว่า "ภายใต้โครงการ City Cancer Challenge เราจะปรับปรุงระบบสุขภาพทั้งของรัฐและเอกชนที่มั่นคงอยู่แล้วในเมืองเปตาลิง เพื่อนำเสนอบริการสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ในแง่ของการวินิจฉัยและการรักษาโรคอย่างทันท่วงที ซึ่งจะทำให้ผลการรักษาผู้ป่วยดีขึ้นในท้ายที่สุด"

 

          เกี่ยวกับ City Cancer Challenge

 

          City Cancer Challenge เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างเมืองต่างๆ ที่มีเป้าหมายในการยกระดับการเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งอย่างมีคุณภาพในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการเปลี่ยนวิธีการที่ภาครัฐและเอกชนร่วมกันออกแบบ วางแผน และใช้โซลูชันการรักษาโรคมะเร็ง

 

          แนวทางของโครงการอ้างอิงหลักการที่ว่า เมืองต่างๆ สามารถสร้างผลกระทบในระดับประเทศได้ด้วยการสร้างสรรค์โซลูชันที่อิงข้อมูล โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายพันธมิตรในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ซึ่งสะท้อนถึงความเข้าใจในบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละท้องถิ่น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://citycancerchallenge.org/

 

          ติดต่อ: Beatriz Escrina – press@citycancerchallenge.org

 

 

       

  โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1009713/City_Cancer_Challenge_Logo.jpg

 

คอมเม้นต์
กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อนคอมเม้นต์
ผู้เขียน